เครียดลงกระเพาะ คนคิดมากเครียดง่ายต้องระวัง

3 นาทีในการอ่าน
เครียดลงกระเพาะ คนคิดมากเครียดง่ายต้องระวัง

ความเครียดส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะเมื่อคิดมาก คิดเยอะจนเกินรับไหว อาจส่งผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหาร หรือที่เรียกว่าเครียดลงกระเพาะ แม้ไม่รุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิต แต่สร้างความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงหากมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอาการอาจแย่ลงได้


เครียดลงกระเพาะคืออะไร

เครียดลงกระเพาะ คือ ความผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้ที่เกิดจากความเครียด ส่งผลให้สมดุลของกระเพาะอาหารและลำไส้เปลี่ยนแปลงไป กระเพาะอาหารมีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น การเคลื่อนตัวของลำไส้ลดลง จนเกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมา


เครียดลงกระเพาะเกิดจากสาเหตุใด

สาเหตุหลักของเครียดลงกระเพาะเกิดจากความเครียดเข้าไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันของทางเดินอาหารและลำไส้ ทำให้สมดุลของเชื้อแบคทีเรียชนิดดีและไม่ดีในระบบทางเดินอาหารเปลี่ยนแปลงไป เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ความเครียดยังส่งผลต่อกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร ทำให้กล้ามเนื้อหลอดอาหารหด เกร็งตัว บิดตัวเพิ่มขึ้น เพิ่มการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร จนทำให้มีกรดเกินในกระเพาะอาหาร อาจทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องเสียได้


สัญญาณเตือนเครียดลงกระเพาะ

  • ปวดจุก แสบแน่นลิ้นปี่ หรือบริเวณใต้ชายโครงเยื้องไปด้านซ้าย เป็นสัญญาณเริ่มต้นของเครียดลงกระเพาะ 
  • การนอนเปลี่ยนไป เช่น ตอนกลางคืนนอนไม่พอจากความเครียด ทำให้เพลียมากกว่าปกติในตอนกลางวัน 
  • อยากอาหารเพิ่มขึ้น เวลาเครียดร่างกายจะรู้สึกเพิ่มความอยากอาหาร โดยเฉพาะอาหารหวาน ๆ เนื่องจากจะทำให้ร่างกายรู้สึกมีความสุขเพิ่มมากขึ้น 

อาการเครียดลงกระเพาะเป็นอย่างไร

  • ปวดจุกลิ้นปี่ 
  • จุกเสียด แสบแน่นท้อง 
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เวียนศีรษะ
  • สะอึก เรอเหม็นเปรี้ยว 
  • อาหารไม่ย่อย ท้องอืด 
  • กินอาหารแล้วอิ่มเร็วขึ้นหรืออิ่มนานกว่าเดิม  
  • ท้องผูก ท้องเสีย

เครียดลงกระเพาะ คนคิดมากเครียดง่ายต้องระวัง

ดูแลรักษาเครียดลงกระเพาะได้อย่างไร

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน หากรู้สึกว่าเครียด นอนไม่พอ ปวดจุก แสบแน่นลิ้นปี่ ควรเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกเครียด ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้อาการค่อย ดีขึ้น โดยต้องทำควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
  2. ปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร ทำควบคู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เช่น 
    • เลี่ยงของเผ็ดและของเปรี้ยว เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะเพิ่มการหลั่งกรด 
    • เลี่ยงอาหารมันและของทอด เนื่องจากเป็นอาหารที่ย่อยยาก เกิดอาหารตกค้างในกระเพาะอาหารนานมากขึ้น ทำให้เกิดอาการท้องอืดตามมา
    • เลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง เช่น ชา กาแฟ เนื่องจากกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารให้เพิ่มมากขึ้น
    • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของหมัก ของเปรี้ยว ของดอง เนื่องจากทำให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้น 
  3. การรับประทานยา ในกรณีที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมกับการรับประทานอาหารแล้วไม่ดีขึ้น แนะนำให้พบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจหาสาเหตุโดยละเอียด โดยแพทย์อาจให้รับประทานยาลดกรด ยาแก้จุกเสียดแน่นท้อง ยาขับลม ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน เพื่อบรรเทาอาการเครียดลงกระเพาะ

เครียดลงกระเพาะแบบไหนต้องพบแพทย์ทันที 

หากเครียดลงกระเพาะแล้วรักษาไม่หายหรือไม่ดีขึ้น รวมถึงมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมากโดยไม่ทราบสาเหตุ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ ถ่ายเป็นเลือด หรือมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งบริเวณทางเดินอาหาร ควรพบแพทย์ทันที เพราะการเครียดลงกระเพาะนาน ๆ หรือปล่อยให้เป็นเรื้อรังอาจเพิ่มความรุนแรงมากกว่าที่คิด


ป้องกันเครียดลงกระเพาะ

เครียดลงกระเพาะมักเป็น ๆ หาย ๆ มีความสัมพันธ์กับความเครียด แต่หากเป็นบ่อย ทุกครั้งที่มีความเครียดกรดจะหลั่งเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารตามมา ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุด คือการดูแลสุขภาพกายใจ การลดความเครียด เน้นรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เลี่ยงของมัน ของทอด ของเปรี้ยว ของหมักดอง และหลังรับประทานอาหารแต่ละมื้อควรเดินย่อยเพื่อกระตุ้นลำไส้ให้เคลื่อนไหว รวมถึงออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยป้องกันและลดอาการเครียดลงกระเพาะได้


แพทย์ที่ชำนาญการรักษาเครียดลงกระเพาะ

พญ.ทิพสุคนธ์ สถาปนศิริ อายุรแพทย์ คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ

สามารถคลิกที่นี่เพื่อทำนัดหมายได้ด้วยตนเอง


โรงพยาบาลที่ชำนาญการรักษาเครียดลงกระเพาะ

คลินิกอายุรกรรมโรงพยาบาลกรุงเทพพร้อมให้การดูแลผู้ป่วยเครียดลงกระเพาะโดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความชำนาญและมากด้วยประสบการณ์พร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตในทุกวันได้อย่างมีความสุข

ข้อมูลโดย

Doctor Image
พญ. ทิพสุคนธ์ สถาปนศิริ

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
พญ. ทิพสุคนธ์ สถาปนศิริ

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม
Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ

ชั้น 1 อาคารโรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00 - 20.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด