นพ. ภควัต เธียรผาติ

อายุรศาสตร์
Doctor Image
Doctor Info Icon
ศูนย์และคลินิก
Doctor Info Icon
ความชำนาญเฉพาะทางสาขา
อายุรศาสตร์
Doctor Info Icon
ภาษา
ไทย, อังกฤษ

การศึกษา

2562
อายุรศาสตร์โรงพยาบาลชลบุรี

Loading Schedule..

บทความที่เกี่ยวข้อง

Doctor article image
ท้องเสีย อย่าปล่อยให้ทรมาน

ท้องเสียเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แม้สามารถรักษาเบื้องต้นได้ด้วยตนเองก็ควรระมัดระวังและมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะหากอาการรุนแรงต้องรีบพบแพทย์ทันทีก่อนมีอันตรายถึงชีวิต<br /><br /> <br /><br /> ท้องเสียคืออะไร<br /><br /> ท้องเสียหรืออุจจาระร่วง (Diarrhea) คือ ภาวะที่ร่างกายมีการถ่ายเหลวเป็นน้ำ ถ่ายเหลวเป็นน้ำปนเนื้อ มากกว่าวันละ 3 ครั้ง ภายใน 24 ชั่วโมง หรือถ่ายมีเลือดปน ถ่ายมีมูกเลือดมากกว่า 1 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมง <br /><br /> <br /><br /> ท้องเสียมีกี่แบบ<br /><br /> ท้องเสียแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามระยะเวลาที่มีอาการ ได้แก่<br /><br /> 1) ท้องเสียเฉียบพลัน (Acute Diarrhea) พบมากที่สุด มีอาการอยู่ที่ประมาณ 1 - 3 วัน ก่อนจะดีขึ้นและหายเอง<br /><br /> 2) ท้องเสียต่อเนื่อง (Persistent Diarrhea) จะมีอาการอยู่ที่ประมาณ 2 - 4 สัปดาห์ ควรสังเกตอาการและปรึกษาแพทย์ทันที<br /><br /> 3) ท้องเสียเรื้อรัง (Chronic Diarrhea) จะมีอาการต่อเนื่อง 4 สัปดาห์ขึ้นไป อาจจะเป็น ๆ หาย ๆ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด<br /><br /> <br /><br /> สาเหตุท้องเสียเกิดจากอะไร<br /><br /> ท้องเสียเกิดจากความผิดปกติของลำไส้ แบ่งออกเป็น การติดเชื้อและไม่ติดเชื้อ โดยในกลุ่มที่ท้องเสียเฉียบพลันมักเกิดจากการติดเชื้อ อาทิ ไวรัส แบคทีเรีย กลุ่มพยาธิ ซึ่งจะติดเชื้อชนิดไหนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยทางระบาดวิทยาแต่ละพื้นที่ โรคระบาดใด ๆ ในช่วงเวลาหรือพื้นที่นั้น ๆ หรือปัจจัยในแง่ร่างกายของแต่ละคน เช่น โรคประจำตัว การรับประทานยาบางชนิดที่ส่งผลต่อภูมิคุ้มกัน เป็นต้น และกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อ ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ อาจแบ่งย่อยเป็นชนิดที่ท้องเสียโดยไม่มีความผิดปกติของลำไส้ (Functional Diarrhea) และชนิดที่แพทย์พบความผิดปกติของลำไส้ เช่น มีการอักเสบเรื้อรัง หรือพบก้อนเนื้อ เป็นต้น แนะนำให้พบแพทย์เพื่อเช็กอาการก่อนสายเกินไป<br /><br /> <br /><br /> การดูแลรักษาเมื่อท้องเสียต้องทำอย่างไร<br /><br /> วิธีการดูแลรักษาเมื่อท้องเสียขึ้นอยู่กับความรุนแรงในการขาดน้ำและโรคประจำตัวของผู้ป่วยเป็นหลัก<br /><br /> 1) ท้องเสียระดับเบา น้ำหนักลดไม่ถึง 5% มีการขาดน้ำเล็กน้อย ยังรับประทานอาหารได้ปกติ โดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อที่ไม่รุนแรงหรืออาหารเป็นพิษ อาการมักไม่เกิน 2 - 3 วัน สามารถรักษาเองเบื้องต้นเองได้ โดยการรับประทานเกลือแร่สำหรับคนท้องเสีย (Oral Rehydration Salt - ORS) และกลุ่มยารักษาเพื่อลดอาการ เช่น ยาลดอาการปวดท้อง ยาลดอาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น เมื่ออาการดีขึ้นสามารถหยุดยาได้ แต่ในกรณีที่ท้องเสียแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือเป็นนานมากกว่า 3 - 5 วัน แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการค้นหาสาเหตุเพิ่มเติม<br /><br /> 2) ท้องเสียระดับกลาง น้ำหนักลด 6 - 9% มีการขาดน้ำระดับกลาง ผู้ป่วยเริ่มรับประทานได้ไม่ค่อยได้ อาจมีอาการเวียนหัว ริมฝีปากแห้ง ใจหวิว ๆ ปัสสาวะเริ่มลดลงแต่ยังมีอยู่ เมื่อตรวจสัญญาณชีพอาจพบหัวใจเต้นเร็วขึ้น มากกว่า 100 ครั้ง/นาที แต่ความดันยังปกติ เบื้องต้นแนะนำให้รับประทานเกลือแร่สำหรับคนท้องเสีย (Oral Rehydration Salt - ORS) ทันที เพื่อป้องกันการเสียน้ำรุนแรงเพิ่มขึ้น แล้วมาพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและเข้ารับการรักษาต่อไป <br /><br /> 3) ท้องเสียระดับรุนแรง น้ำหนักลดมากกว่า 10% ขึ้นไป ผู้ป่วยอาจเป็นลมหมดสติ ใจสั่น เวียนหัวรุนแรง ไม่ปัสสาวะเลยหรือปัสสาวะน้อยมาก เมื่อตรวจร่างกายอาจพบสัญญาณชีพผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 120 ครั้ง/นาที หรือความดันตก น้อยกว่า 90/60 มม.ปรอท หายใจเร็ว หากอาการรุนแรงมากจนความดันตกจำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาฉุกเฉินเพื่อให้สารน้ำอย่างรวดเร็ว แนะนำว่าอย่ารอจนอาการท้องเสียรุนแรง เมื่อเริ่มมีอาการมากขึ้นในระดับกลางควรมาพบแพทย์ทันที <br /><br /> <br /><br /> ท้องเสียเป็นสัญญาณของโรคใดบ้าง<br /><br /> เนื่องจากสาเหตุของอาการท้องเสียนั้นมีหลายภาวะจึงขอยกตัวอย่างกลุ่มโรคที่พบบ่อยและมีความจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเพิ่มเติ่ม<br /><br /> ● ลำไส้แปรปรวน ไม่ใช่โรคร้ายแรง “แต่เรื้อรัง” อาการที่พบบ่อย คือ อาการปวดบิดท้องเวลาถ่ายอุจจาระ เมื่อถ่ายอุจจาระเสร็จแล้วอาการจะดีขึ้นชัดเจน แต่จะมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย ซึ่งอาการโรคลำไส้แปรปรวนมีได้หลายแบบ ทั้งท้องเสีย ท้องผูก ท้องผูกสลับท้องเสีย ไม่มีไข้ ไม่มีมูกเลือดปน ช่วงเวลาที่เป็นมักหายได้เอง แต่หากผู้ป่วยมีอาการ เป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกัน 6 สัปดาห์ขึ้นไป อาจสงสัยได้ว่าเป็นโรคลำไส้แปรปรวน แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุที่แท้จริง หากได้รับการวินิจฉัยแล้ว การรักษาหลักจะประกอบด้วยการใช้ยาและการปรับพฤติกรรม เช่น เลี่ยงอาหารกลุ่ม FODMAPs ที่มีคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและโมเลกุลคู่รวมหลากชนิดเป็นองค์ประกอบ เพราะจะทำให้ผู้ป่วยโรคลำไส้แปรปรวนอาการแย่ลง อาทิ นม ข้าวสาลี น้ำผึ้ง ถั่วต่าง ๆ หัวหอม กระเทียม เห็ด ฯลฯ รวมถึงจัดการความเครียด วิตกกังวล นอนไม่หลับ เนื่องจากกระตุ้นอาการของโรคให้กำเริบได้เช่นกัน<br /><br /> ● มะเร็งลำไส้ ผู้ป่วยอาจมาด้วยหลากหลายอาการ เช่น ท้องเสียเรื้อรังมากกว่า 4 สัปดาห์ขึ้นไป อาจมีมูกเลือดปน ท้องผูกสลับท้องเสีย อาการอาจเป็น ๆ หาย ๆ มีน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว เบื่ออาหารมากผิดปกติ บางคนมีไข้ต่ำ ๆ ต่อเนื่องตลอดเวลา ผู้ป่วยอาจมีความเสี่ยงพื้นฐานเดิมที่จะเป็นโรคนี้ เช่น มีประวัติคนในครอบครัวหรือญาติสายตรงเป็นมะเร็งลำไส้ ดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ ทานอาหารไฟเบอร์ต่ำหรือทานของปิ้งย่างบ่อย ๆ เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป เป็นต้น<br /><br /> ● ไทรอยด์สูง ในผู้ป่วยไทรอยด์สูงมักมีอาการท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำ ถ่ายเหลวเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ได้ เนื่องจากตัวฮอร์โมนไทรอยด์สามารถกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานมากผิดปกติ มักพบร่วมกับอาการอื่น ๆ ของภาวะไทรอยด์สูง เช่น ใจสั่น น้ำหนักลดมากผิดปกติ ขี้ร้อน หรือประจำเดือนมาไม่ปกติในผู้หญิง เป็นต้น <br /><br /> ● ยาฆ่าเชื้อบางชนิด มีผลทำให้เกิดอาการท้องเสีย โดยเกิดจากผลข้างเคียงของยาเอง หรือเกิดจากการที่ยาเข้าไปฆ่าเชื้อแบคทีเรียดีในลำไส้ทิ้งไปและเชื้อที่ไม่ดีเจริญเติบโตมากเกินไป หากเคยใช้ยาฆ่าเชื้อแล้วมีอาการท้องเสียเรื้อรังไม่หายควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กอย่างละเอียด<br /><br /> <br /><br /> <br /><br /> <br /><br /> ป้องกันท้องเสียได้อย่างไร<br /><br /> หลัก ๆ แล้วท้องเสียเป็น “อาการ” จึงยากที่จะป้องกัน แต่ในส่วนที่พอจะป้องกันได้คือ ท้องเสียแบบเฉียบพลันที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ ป้องกันได้โดยรับประทานอาหารสุก สะอาด กินร้อนช้อนกลาง ล้างมือให้บ่อยทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหาร นอกจากนั้นต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรจึงจะสามารถทำการรักษาหรือแนะนำการป้องกันหรือปรับพฤติกรรมบางอย่างตามสาเหตุหรือความเสี่ยงของโรคนั้น ๆ นอกจากนี้ยังมีการป้องกันในแง่ “ปรับพฤติกรรม” เพื่อลดความเสี่ยงของโรค เช่น หยุดเหล้า หยุดสูบบุหรี่ เพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ เป็นต้น<br /><br /> <br /><br /> ท้องเสียจำเป็นต้องมาพบแพทย์หรือไม่<br /><br /> หากท้องเสียอาการไม่รุนแรง ไม่ได้เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง หรือมีอาการอื่น ๆ ประกอบที่สงสัยว่าเป็นกลุ่มโรคร้ายแรง สามารถรักษาตามอาการเบื้องต้นก่อนได้ แต่หากมีอาการขาดน้ำมาก ระดับกลางขึ้นไป หรือไม่ดีขึ้นภายใน 3 – 5 วัน หรือ มีอาการอื่น ๆ เช่น ไข้สูง หนาวสั่น ถ่ายมีมูกหรือเลือดปน แนะนำให้มาพบแพทย์ทันที<br /><br /> นอกจากนี้ในส่วนของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น อายุมากกว่า 65 ปี มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ ทานยากดภูมิคุ้มกัน หรือหญิงตั้งครรภ์ ควรรีบมาพบแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอให้เกิดอาการระดับกลางก่อน เนื่องจากเสี่ยงต่อการที่โรคจะทรุดลงหรือการเลือกใช้ยาบางชนิดที่อาจใช้ไม่ได้หรือทำปฏิกิริยาระหว่างยากันเองได้ <br /><br /> <br /><br /> แพทย์ที่ชำนาญด้านการรักษาท้องเสีย<br /><br /> นพ.ภควัต เธียรผาติ อายุรแพทย์ คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพ<br /><br /> สามารถคลิกที่นี่เพื่อทำนัดหมายได้ด้วยตนเอง<br /><br /> <br /><br /> โรงพยาบาลที่ชำนาญด้านการรักษาท้องเสีย<br /><br /> คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพพร้อมดูแลรักษาอาการท้องเสียในทุกระดับความรุนแรง โดยแพทย์เฉพาะทางที่มีความรู้ความชำนาญและมากด้วยประสบการณ์ พร้อมทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากความเจ็บป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

นพ. ภควัต เธียรผาติ