เคล็ดไม่ลับเบาหวาน กินอย่างไรให้น้ำตาลไม่ขึ้น
เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับระบบเมตาบอลิซึมในร่างกาย ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ถึงแม้ว่าไม่สามารถรักษาให้หายขาด แต่หากผู้ป่วยควบคุมอาหาร ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ก็จะสามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ทำให้โรคอยู่ในระยะสงบ ไม่แสดงอาการ เหมือนกับหายจากโรคแล้ว หรือเรียกว่า Remission หากผู้ป่วยดูแลระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีต่อเนื่องก็จะมีภาวะสงบนี้ได้ยาวนาน ช่วยให้แพทย์ลดหรืองดการใช้ยาเพื่อคุมระดับน้ำตาลได้
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากภาวะลองโควิด
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบแม้พบได้ไม่บ่อย แต่สามารถเกิดขึ้นได้แบบเฉียบพลันทั้งในผู้ชายและผู้หญิงรวมถึงในเด็กเล็ก โดยไม่มีอาการแสดงมาก่อน และอาจร้ายแรงถึงขั้นหัวใจล้มเหลวได้ การรู้เท่าทันเพื่อระวังและรับมือได้อย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ
คลายล็อกไม่คลายฟิต
การล็อกดาวน์ในช่วงโควิด-19 ที่หลายคนต้องอยู่แต่บ้านแทบไม่ได้ออกไปไหน ไม่ได้ขยับ Work From Home ทั้งวัน สั่งอาหารเดลิเวอรีทั้งอาหารหวาน มัน เค็มมารับประทาน ทำให้เกิดความเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อ้วนลงพุง ไขมันพอกตับได้ แม้จะผ่อนคลายล็อกดาวน์ก็ต้องไม่คลายความฟิตเพื่อสุขภาพที่ดี
4 เทคนิคพักผ่อนให้ฟิตเต็มร้อย
การนอนสำหรับนักกีฬาอาจเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญสู่ความสำเร็จ เพราะหากนอนหลับไม่เพียงพอหรือไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลต่อสมรรถภาพในการแข่งขัน
POST COVID-19 ใส่ใจตรวจเช็กสุขภาพหลังหายจากโควิด-19
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ภาวะการติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จนถึงตอนนี้มีคนจำนวนไม่น้อยที่ได้รับเชื้อและติดเชื้อโควิด-19 ไปแล้ว หลังหายจากโรคดีแล้วซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลานานถึง 28 วันหรือมากกว่าหลังจากที่พบเชื้อ บางคนพบว่ามีอาการผิดปกติที่บางครั้งไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นอะไร แต่แน่นอนว่าทำให้เกิดความกังวลและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย ซึ่งถ้าเกิดภาวะเหล่านั้นขึ้นแล้วอาจต้องมีการสืบหาโรคว่าจริง ๆ แล้วเป็นอาการที่หลงเหลืออยู่ของการติดเชื้อโควิด-19 หรือเป็นโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งในการสืบหาโรคอาจต้องอาศัยอาการแสดงและสืบหาโรคจากอาการที่เป็นอยู่ แนะนำให้ตรวจเช็กสุขภาพอย่างละเอียดตามระดับอาการผิดปกติคงค้างที่ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน เพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี
โรคหัวใจ รอไม่ได้ เชื่อมต่อทุกหัวใจให้สุขภาพดี
เนื่องในวันหัวใจโลก 2564 (World Heart Day 2021) ปีนี้ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ เราอยากเห็นทุกคน USE HEART TO CONNECT ใช้พลังดิจิทัลเชื่อมต่อหัวใจทุกดวงให้มีสุขภาพหัวใจที่ดีเพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรงของทุกคน
โภชนบำบัดก่อนผ่าตัดกลุ่มโรคทางช่องท้องและทวารหนัก
สำหรับผู้ป่วยในกลุ่มโรคทางช่องท้องและทวารหนักที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด นอกจากต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง การดูแลด้านโภชนาการก่อนผ่าตัดเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ยังช่วยฟื้นฟูร่างกายและบาดแผล อาจช่วยให้ออกจากโรงพยาบาลกลับไปดูแลตัวเองที่บ้านได้เร็วขึ้น
หนังตาตก รีบรักษาก่อนเสียความมั่นใจ
ปัญหาเกี่ยวกับหนังตาสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยและมีความรุนแรงแตกต่างกัน อาจพบข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้ แม้ไม่เจ็บปวดแต่อาจส่งผลกับการมองเห็น ดังนั้นเมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสม
หัวใจแข็งแรงสุขภาพดียืนยาว
เพราะโรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนไทย ดังนั้นการดูแลหัวใจให้แข็งแรงด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ครบทุกหมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และตรวจเช็กหัวใจตามคำแนะนำของแพทย์ ย่อมช่วยให้หัวใจแข็งแรงนำมาซึ่งการมีสุขภาพดีและอายุที่ยืนยาว
เช็กลิสต์ตรวจตาในเด็กที่พ่อแม่ไม่ควรละเลย
การตรวจตาในเด็กเป็นสิ่งที่พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ควรละเลย เพราะเด็กมักไม่รู้ว่าตนเองมีความผิดปกติ บางครั้งกว่าจะรู้อาจสายเกินไป ดังนั้นการตรวจตาในเด็กตามช่วงเวลาที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยดูแลการมองเห็นและสุขภาพดวงตาของเด็กได้อย่างถูกวิธี
วุ้นตาเสื่อม ภัยเงียบทำร้ายดวงตา
เคยสังเกตไหม ทำไมจึงมองเห็นเงาดำคล้ายหยากไย่หรือยุงบินไปมา แต่พอพยายามจ้องมองแล้วกลับลอยหายไปอย่างรวดเร็ว และมักมองเห็นชัดเจนขึ้นเวลามองไปบนท้องฟ้าหรือพื้นผนังสีขาว หรือบางครั้งเห็นแสงไฟวาบขึ้นมาในตาทั้ง ๆ ที่อยู่ในที่มืด อาการเหล่านี้เกิดจากภาวะที่เรียกว่า วุ้นตาเสื่อม
LONG COVID เรื่องต้องรู้เมื่อหายจากโควิด-19
ผู้ป่วย COVID-19 มีอาการและความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน รวมถึงการฟื้นฟูร่างกายได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงควรรู้ถึงอาการระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายหรือที่เรียกว่า โพสต์โควิด (Post - COVID 19 Condition) หรือ ลองโควิด (Long COVID) เพื่อจะได้รู้เท่าทัน เตรียมพร้อมรับมือ และดูแลตัวเองให้ถูกวิธี