แผลหลอดเลือด อันตรายกว่าที่คิด

2 นาทีในการอ่าน
แผลหลอดเลือด อันตรายกว่าที่คิด

แผลหลอดเลือดมีทั้งแผลหลอดเลือดแดงตีบตันและแผลหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ ซึ่งนับว่าเป็นแผลเรื้อรังที่นอกจากสร้างความทรมานให้กับผู้ป่วย หากไม่รีบรักษาอาจร้ายแรงจนทำให้ต้องสูญเสียอวัยวะส่วนนั้นได้ในที่สุด ดังนั้นการทำความเข้าใจเพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธีและทันท่วงทีคือสิ่งสำคัญ


ลักษณะแผลหลอดเลือดตีบตัน

แผลหลอดเลือดตีบตัน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่

  1. แผลหลอดเลือดแดงตีบตัน
  2. แผลหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ

แผลหลอดเลือด, แผลเรื้อรัง, ศัลยกรรม

1) แผลหลอดเลือดแดงตีบตัน

แผลหลอดเลือดแดงตีบตันส่วนใหญ่พบในคนอายุมาก เกิดจากภาวะที่ทำให้หลอดเลือดแดงตีบตัน ได้แก่ แคลเซียมที่เกิดจากคอเลสเตอรอล โรคของหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดแดงอักเสบ เบาหวาน เป็นต้น

ลักษณะบาดแผลหลอดเลือดแดงตีบตันที่สำคัญ ได้แก่

  • แผลจะซีดๆ
  • แผลไม่มีเลือดออก
  • แผลสามารถลึกถึงเส้นอ้นถึงกระดูกได้
  • รู้สึกปวดมาก
  • แผลจะลึกและเจ็บ


กลุ่มเสี่ยงแผลหลอดเลือดแดงตีบ

  1. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง
  2. ผู้ที่เท้าชา เท้าผิดรูป
  3. ผู้ที่มีเส้นประสาทผิดปกติ
  4. ผู้ที่มีโรคข้อต่าง ๆ
  5. ผู้ที่ใส่รองเท้าไม่ถูกต้อง ไม่สามารถป้องกันเท้าได้ ทำให้เกิดแรงกดบริเวณปุ่มกระดูกมาก

***รองเท้าที่ดีจะต้องเป็นรองเท้าสวม เช่น รองเท้ากีฬา ขนาดรองเท้าต้องพอดี ไม่คับ ไม่หลวม หัวแม่เท้าห่างจากหัวรองเท้าประมาณ 1 หัวแม่มือ


ความรุนแรงของแผลหลอดเลือดแดงตีบ

หากเป็นแผลหลอดเลือดแดงตีบแล้วปล่อยไว้ไม่รักษาจะเกิดแผลที่เจ็บ ลึก รุนแรง และอาจติดเชื้อ เมื่อแผลติดเชื้อมากๆ อาจลุกลามจนเนื้อตายเป็นบริเวณกว้าง เพราะเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ และอาจต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นในที่สุด ยกตัวอย่างเช่น หากเป็นแผลหลอดเลือดแดงตีบจากนิ้วเท้าลามมาถึงเท้า ถ้าติดเชื้อจนเนื้อตายมาก ๆ อาจต้องตัดเท้า เป็นต้น ซึ่งระยะการลุกลามนั้นไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับว่าบาดแผลขาดเลือดมากแค่ไหนและเชื้อโรครุนแรงแค่ไหน


รักษาแผลหลอดเลือดแดงตีบ

การรักษาแผลหลอดเลือดแดงตีบสามารถทำได้เช่นดียวกับรักษาแผลเรื้อรังทั่วไปและตรวจแก้เส้นเลือด หากเส้นเลือดไม่ดีต้องให้ยา อาจร่วมกับการถ่างขยายเส้นเลือดไม่ให้ตีบ หากไม่ได้ผลอาจต้องผ่าตัด โดยแพทย์จะเลือกใช้เทคโนโลยีการรักษาที่เหมาะสมเข้ามาช่วย การดูแลแผลหลอดเลือดแดงมักจะทำให้แผลแห้งเพื่อลดการติดเชื้อ

 

ป้องกันไม่ให้เกิดแผลหลอดเลือดแดงตีบซ้ำ

  • ห้ามสูบบุหรี่
  • ห้ามนั่งไขว่ห้าง
  • เลี่ยงอากาศเย็น
  • ใส่รองเท้าที่ดี
  • ออกกำลังกายเท่าที่ทำได้

 

แผลหลอดเลือด, แผลเรื้อรัง, ศัลยกรรม


2) แผลหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ

แผลหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติจะอยู่ที่ขา เกิดจากการที่เนื้อเยื่อเลือดที่ไหลมาตามหลอดเลือดแดงไหลกลับไปที่หลอดเลือดดำ เกิดการคั่งค้างไม่สามารถไหลกลับสู่หัวใจได้ดี ทำให้ขาบวม ออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อไม่ดี ขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ และเกิดเป็นแผลขึ้น


ลักษณะบาดแผลหลอดเลือดดำตีบตันที่สำคัญ ได้แก่

  • มักเกิดบริเวณด้านข้างขา
  • แผลมีสีดำคล้ำ
  • ขาบวม
  • ไม่ปวด
  • แผลจะไม่ค่อยลึกถึงเส้นเอ็น
  • แผลจะตื้นและไม่เจ็บ


รักษาแผลหลอดเลือดดำตีบ

  1. ทำแผลตามหลักการของแพทย์
  2. ใช้การรัดพันขาให้แน่นในระดับหนึ่งเพื่อให้ยุบ ไม่บวม ซึ่งข้อจำกัดของการพันขาในแผลหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติจะต้องไม่มีปัญหาหลอดเลือดแดงร่วมด้วย เพราะหากมีปัญหาหลอดเลือดแดงเมื่อพันขาจะเกิดแรงกดทับ ทำให้หลอดเลือดแดงไปเลี้ยงไม่ได้
  3. การผ่าตัดแก้ไขสาเหตุ เพราะแผลหลอดเลือดดำอาจเกิดจากปัญหาหลอดเลือดดำได้


ป้องกันไม่ให้เกิดแผลหลอดเลือดดำตีบซ้ำ

  • เมื่อรักษาจนหายแล้วต้องดูแลเท้าให้ดี
  • สังเกตตัวเองทุกวัน หากมีแผลต้องรีบพบแพทย์โดยเร็วเพื่อทำการรักษา
  • ลดน้ำหนักให้เป็นไปตามเกณฑ์
  • ไม่ยืนหรือนั่งห้อยขานาน ๆ

 

หากเป็นแผลหลอดเลือด ไม่ว่าจะเป็นแผลหลอดเลือดแดงตีบตันหรือแผลหลอดเลือดดำทำงานผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการรักษาอย่างต่อเนื่องจนหายขาด ปัจจุบันมีเครื่องมือและเทคโนโลยีในการรักษาที่ช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อ ลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น ทำให้ผู้ป่วยกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง

ข้อมูลโดย

Doctor Image
นพ. กมล เรืองทอง

ศัลยศาสตร์

ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
นพ. กมล เรืองทอง

ศัลยศาสตร์

ศัลยศาสตร์หลอดเลือด
Doctor profileDoctor profile
Doctor Image
นพ. อรรถ นิติพน

กุมารศัลยศาสตร์ศัลยศาสตร์

ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ
นพ. อรรถ นิติพน

กุมารศัลยศาสตร์ศัลยศาสตร์

ศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ
Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์หลอดเลือด

ชั้น 1 อาคาร D โรงพยาบาลกรุงเทพ

เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 08.00 – 17.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด