9 สัญญาณเตือนโรคเบาหวานที่คุณต้องรู้

2 นาทีในการอ่าน
9 สัญญาณเตือนโรคเบาหวานที่คุณต้องรู้

เบาหวานเป็นโรคที่ต้องระวังอย่างมาก เพราะหากคุมเบาหวานไม่ได้อาจป่วยเป็นโรคหัวใจ ป่วยเป็นโรคไตจนต้องฟอกเลือด มีแผลที่เท้าแล้วไม่หายจนติดเชื้อต้องตัดขา แม้กระทั่งถ้าป่วยเป็นโควิดช่วงที่น้ำตาลในเลือดสูงอาจป่วยหนักจนถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการสังเกตสัญญาณเตือนโรคเบาหวานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ

 

สัญญาณเตือนเบาหวานคืออะไร

9 สัญญาณเตือนโรคเบาหวานดังต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องรู้และหมั่นสังเกต หากมีอาการให้รีบมาตรวจเช็กกับแพทย์เฉพาะทางทันที เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังป่วยเป็นเบาหวานหรือไม่ จะได้ดูแลตนเองอย่างถูกวิธี

  1. กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อยกว่าปกติ
  2. ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ หรือปัสสาวะปริมาณมากกว่าปกติ
  3. หิวบ่อย กินอาหารมากกว่าเดิม
  4. น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  5. สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด
  6. รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  7. มีแผลและแผลหายช้ากว่าปกติ
  8. ชา ปวดแสบ ปวดร้อน หรือรู้สึกเหมือนมีมดไต่ที่ปลายมือปลายเท้า
  9. ผิวหนังแห้ง คัน

ระวังภัยเงียบจากเบาหวาน

เบาหวานเป็นภัยเงียบที่มาแบบไม่รู้ตัว เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการมาก่อน ดังนั้นในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน อาทิ มีภาวะอ้วน มีญาติหรือคนในครอบครัวสายตรงเป็นเบาหวาน เป็นต้น แม้ยังไม่มีอาการก็ควรตรวจคัดกรองเบาหวานเป็นประจำทุกปี เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จนแสดงอาการ อาจเป็นหนักและเกิดผลข้างเคียงที่ยากจะรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ 


9 สัญญาณเตือนโรคเบาหวานที่คุณต้องรู้
เช็กตัวเองอย่างไรให้ห่างไกลเบาหวาน

การเช็กตัวเองอยู่เสมอช่วยให้ห่างไกลเบาหวานและผลข้างเคียงจากเบาหวานสิ่งที่ควรทำคือ

  • สังเกตตัวเอง อยู่เสมอว่ามีอาการผิดปกติตามสัญญาณข้างต้นหรือไม่ 
  • ดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันตัวเองจากเบาหวาน ทั้งการคุมอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม
  • ตรวจเช็กตัวเอง โดยการตรวจคัดกรองที่โรงพยาบาลตามความเหมาะสม

ผู้ป่วยเบาหวานดูแลตัวเองอย่างไร

  • คุมอาหาร ลดน้ำตาล ลดแป้ง ลดของหวาน
  • ออกกำลังกาย แบบปานกลาง (Moderate Intensity) 30 นาทีต่อวัน 5 วันต่อสัปดาห์
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ รับประทานยาสม่ำเสมอ พบแพทย์ตามนัดหมาย ตรวจระดับน้ำตาลและตรวจร่างกายตามที่แพทย์แนะนำ และฉีดวัคซีน ทั้งวัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนปอดอักเสบ
  • สังเกตสัญญาณอันตรายของเบาหวาน อย่างน้ำตาลต่ำ เช่น ใจสั่น มือสั่น หน้ามืด ฯลฯ น้ำตาลสูง เช่น ปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย ฯลฯ หรืออาการที่แสดงว่าน้ำตาลเริ่มเข้าไปทำร้ายอวัยวะในร่างกายแล้ว เช่น แสบร้อนเท้า เจ็บหน้าอก ตาพร่ามัว ถ้ามีสัญญาณเคือนควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว

ปรึกษา SuperMED


กินยาเบาหวานเสี่ยงโรคไตจริงไหม 

ถ้าเป็นเบาหวานแล้วรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำจะไม่เสี่ยงต่อโรคไต แต่ถ้าเป็นเบาหวานแล้วไม่กินยา ปล่อยให้น้ำตาลสูง จะทำร้ายไตให้แย่ลง ไตเสื่อม และไตวายได้ในอนาคต จึงควรรับประทานยาให้ถูกต้อง ซึ่งยาที่ออกมาใหม่ ๆ  นอกจากช่วยลดระดับน้ำตาลแล้ว ยังสามารถป้องกันภาวะโรคไตเสื่อมในอนาคต 


เบาหวานหายได้ไหม 

ในกรณีที่รับประทานยาเบาหวานมาก่อนแล้วคุมระดับน้ำตาลได้ดี โดยเฉพาะในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เซลล์ไขมันบริเวณหน้าท้องที่หลั่งสารบางอย่างจะไปรบกวนการทำงานของอินซูลิน ฮอร์โมนที่ช่วยลดระดับน้ำตาล ถ้ามีเซลล์ไขมันเยอะ อินซูลินจะโดนรบกวนการทำงาน ทำให้ทำงานได้ไม่ดี ดังนั้นการรักษาเบาหวานที่ดีและตรงจุดคือการลดน้ำหนัก หากลดน้ำหนักได้มากอาจหายจากเบาหวานได้

ปรึกษา SuperMED


 

ข้อมูลโดย

Doctor Image
นพ. โองการ สาระสมบัติ

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
นพ. โองการ สาระสมบัติ

อายุรศาสตร์

อายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อและเมแทบอลิซึม
Doctor profileDoctor profile
Loading

กำลังโหลดข้อมูล

สอบถามเพิ่มเติมที่

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ

ชั้น 2 อาคาร โรงพยาบาลกรุงเทพ

จันทร์ – ศุกร์ 7.00 - 16.00 น.

เสาร์ – อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ 7.00 – 16.00 น.

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

ดูแพทย์ทั้งหมด